การให้บริการรักษาความปลอดภัย
ขั้นตอนการดำเนินงานรักษาความปลอดภัย (Security Procedures)

                งานด้านรักษาความปลอดภัยถือเป็นงานบริการ ที่มุ่งเน้นถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างเป็นหลัก บริษัทฯ จะตระหนักถึงจุดนี้ จึงมีความมุ่งมั่นที่จะให้บริการงานด้านรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ว่าจ้างให้ดีที่สุด เพื่อประโยชน์และความคุ้มค่าในอาชีพการรักษาความปลอดภัย ที่ผู้ว่าจ้างจะพึงได้รับ และพึงพอใจกับการให้บริการของบริษัทฯ ตลอดไป

 

บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทาง พร้อมทั้งหลักการในการรักษาความปลอดภัยไว้เป็นหลักฐาน เพื่อให้งานดำเนินไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อยเหมาะสมกับหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้


1. การสำรวจพื้นที่ (Survey) ก่อนวางกำลังพล พร้อมขั้นตอนที่เหมาะสม ขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย ก่อนอื่นต้องคำนึงถึงการสำรวจพื้นที่เป็นอันดับแรก


2. การกำหนดจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    -    จุดอ่อนของอาคารสถานที่ต่าง ๆ
    -    จำนวนช่องทางการเข้า – ออก
    -    ลักษณะของงานและทรัพย์สินที่พึงได้รับการรักษา
    -    บริเวณเขตรับผิดชอบและหวงห้าม


3. อัตรากำลังพลต่อพื้นที่ในการวางกำลังพลในจุดต่าง ๆ นั้น ต้องคำนึงถึงตัวอาคาร สถานที่ พร้อมทั้งความเหมาะสม เพื่อให้งานด้านรักษาความปลอดภัยมีความพร้อม และมีประสิทธิภาพ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมหนักขนาดกลาง มีพนักงาน 500 คน มี ประตูเข้า – ออก 4 ทาง มีป้อมยาม บริษัทฯ จะพิจารณาจุดต่างๆเหล่านี้ และวางกำลังพลจำนวน 6 คน / ผลัด / 12 ชม. เป็นอย่างน้อย 

  
4. จัดให้มีระบบการว่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย และระบบการปฐมนิเทศ ก่อนส่งให้ปฏิบัติหน้าที่ โดยตระหนักว่า รปภ. ต้องยึดวินัยเป็นสุดยอดของ รปภ.


5. จัดให้มีระบบการตรวจคุณภาพของ รปภ. ทั้งจากผู้ว่าจ้าง และสายตรวจจาก บริษัทฯ โดยให้มีระบบ ระเบียบการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันความเสียหาย หรือสูญหาย ที่อาจเกิดขึ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง


6. จัดให้มีการให้รางวัลแก่พนักงาน รปภ. ที่ทำความดี และมีบทลงโทษกับพนักงาน รปภ. ที่ฝ่าฝืนระเบียบวินัย  จัดให้มีคู่มือการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นมาตรฐาน สำหรับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง หน้าที่ความรับผิดชอบของ รปภ. ประจำหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน รปภ. มีระบบ ระเบียบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้างในทุก ๆ หน่วยงาน